Contact us on +084-040-4440 or admin@westlandherb.com

เผยผลโพล คนไทย ซื้อกัญชา เดือนละ 505 บาท สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ เกือบ 3 หมื่นล้าน

เผยผลโพล คนไทย ซื้อกัญชา เดือนละ 505 บาท สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ เกือบ 3 หมื่นล้าน
July 23, 2022 klahan

หอการค้าไทย เผยผลโพล คนไทยควักเงิน ซื้อกัญชา เดือนละ 505 บาท ชี้คนเริ่มหันมาสูบมากขึ้น เผยปีนี้สร้างโอกาศทางเศรษฐกิจ เกือบ 3 หมื่นล้าน

วันที่ 21 ก.ค.65 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ร่วมกับ บริษัท ฟีดแบค180 จำกัด บริษัทชั้นนำทำการรวบรวมและวิเคราะห์ความคิดเห็นจากข้อความบนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับนโยบายกัญชาเสรี

นายพงษ์เพชร นิลจินดามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัย บริษัท Feedback 180ํ (องศา) กล่าวว่า การปลดล็อคกัญชาของไทยในวันที่ 9 มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา มีส่วนให้คำค้นหาเกี่ยวกับกัญชา ทั่วโลกผ่าน google พุ่งสูงที่สุดในวันที่ 11 มิ.ย.2565 โดยแนวโน้มการค้นหาทั่วโลกเริ่มสม่ำเสมอในช่วง 80% มาโดยตลอดจนกระทั่งก่อนวันปลดล็อคคือวันที่ 8 ก.ค.2565 ปริมาณการค้นหาเกี่ยวกับ กัญชาในประเทศไทยพุ่งขึ้นติดอันดับที่ 1ของโลก จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ในอันดับที่ 15ของโลก

โดยกระแสความเห็น ส่วนใหญ่มองกระแสเปิดเสรีกัญชาเป็นกลาง ไม่มองว่าบวก หรือลบ แต่ยอมรับว่าหลังจากวันที่ 14 ก.ค. ซึ่งมีข่าวการเสียชีวิตจากการเสพกัญชาเกินขนาด ทำให้มีกระแสเชิงลบในโซเชียลเพิ่มมากขึ้น

จากความเห็นในโซเชียลจะเห็นว่าฝั่งผู้ผลิตมองว่ากัญชาเป็นโอกาสทางธุรกิจ สามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์ได้ ส่วนฝั่งผู้บริโภคกลับ มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้กัญชาผิดประเภท โดยเฉพาะในเยาวชนและเด็ก ,อันตรายจากการเมากัยชา กัญชาในอาหาร อยากให้รัฐบาลควบคุมขอบเขต การนำไปใช้

นางอุมากมล สุนทรสุวัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ เปิดเผยถึง ผลสำรวจความเห็นทัศ นะของประชาชนต่อนโยบายกัญชาเสรีว่า จากการ สำรวจความเห็นประชาชน 1,215 ตัว อย่างทั่ว ประเทศ ระหว่างวันที่ 5 – 15 ก.ค. 2565พบว่าคนส่วนใหญ่ 58.3% ไม่เห็นด้วยกับการเปิดเสรีกัญชา, 41.7% เห็นด้วย เพราะมองว่าเป็นยาเสพติด ให้โ้ ทษ

ส่วนพฤติกรรมการใช้กัญชา นั้น 78.2% ตอบว่าไม่เคยใช้, 12.1% เคยใช้ในช่วงไม่เกิน1 เดือนที่ผ่านมา ,8.2% เคยใช้เมื่อ ช่วง 3 –6เดือนที่ผ่านมาและ 1.5% เคยใช้เมื่อ12เดือนที่ผ่านมา
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนใหญ่คือ เครื่องดื่มกัญชา รองลงมาคือ อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา เช่น ก๋วยเตี๋ยว , เบเกอร์รี่ เป็นต้น โดยมีความถี่ในการใช้เฉลี่ย 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ รวมมูลค่าการใช้จ่าย 505 บาท/เดือน

เมื่อถามว่า คดิว่าจะลองใช้เพื่อความบันเทิงหรือไม่ คนส่วนใหญ่ 80.6% ตอบว่าไม่ว่าลอง เพราะกังวลเรื่องผลข้างเคียง และยังมีความรู้ไม่มากพอ , 13.8% อยากลอง และ 5.6% ไม่แน่ใจ

จากผลการสำรวจยังพบว่า คนส่วนใหญ่ 75.0% ไม่สนใจที่ จะซื้อหรือบริโภคผลิตภัณฑ์กัญชาที่วางจำหน่ายในท้องตลาด,12.8% สนใจซื้อ เพราะอยากลอง และ 12.2 % ไม่แน่ใจ

นอกจากนี้ยังมีการสอบถาม เรื่องการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์จากการสั่งยาของแพทย์พบว่า คนส่วนใหญ่ 60.5%ตอบว่าไม่อยากใช้, 29.0% ใช้ และ 10.5% ไม่แน่ใจ

ส่วนความรู้เกี่ยวกับกัญชานั้น คนส่วนใหญ่ 38.1% มีความรู้เรื่องกัญชาปานกลาง , 31.3% รู้น้อย ,19.6% รู้มาก, 9.7% ไม่แน่ใจ และ 1.3% ส่วนประเด็นความกังวลเกี่ยวกับการเปิดกัญชานั้น ส่วนใหญ่มีความกังวล ว่าจะส่งผลกระทบต่อ กลุ่มเด็กและเยาวชนมากที่สุด รองลงมาคือผลกระทบต่อสังคม โดยเสนอแนะให้รัฐบาลให้ค วามรู้ สร้า้ งความตระหนัก รู้ถึงผลดีและผลเสีย ทั้งระยะสั้นและระยาวแก่ประชาชน

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลความเห็นในโซเชียลของ จากความเห็นในโซเชียลของบริษัท ฟีดแบค180 จำกัดสรุปได้ว่าคนไทยตื่นตัวเรื่องกัญชาเสรีสูงมาก เนื่องจากมียอดเสิร์ชสูงสุดในโลก หลังจากรัฐบาลปลดล็อควันที่ 9 มิ.ย.2565 โดยในระยะแรกคนสนใจว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจ แต่ระยะหลังกลับมีกระแสความห่วงเรื่องการใช้ผิดประเภท

แต่จากกระแสโซเชียลยังไม่สามารถระบุว่า คนไทยเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกัญชาเสรี เพราะยังมีความเห็นเป็นกลาง มีข้อความ เชิงบวก 9% และเชิงลบ20% ซึ่งหากรัฐบาลต้องการจะผลักดันกัญชาเสรีจะต้องบูรณาการและควบคุมขอบเขตการใช้ให้ดี เพื่อป้องกันการใช้ผิดประเภทการใช้ผิดประเภท
ส่วนผลสำรวจความเห็นประชาชนต่อนโยบายกัญชาเสรีพบว่าคนส่วนใหญ่ยังมีความกังวลการเปิดเสรีกัญชาโดยเฉพาะการใช้ผิดประเภทในเด็กและเยาวชน รวมไปถึงปัญหาทางสังคม แต่ไม่ได้ปฏิเสธรุนแรงเกี่ยวกับการเปิดเสรีกัญชา จึงอยากให้รัฐบาลควบคุมปริมาณ และขอบเขตการใช้ และคนไทยยังมีองค์ความรู้เรื่องกัญชาน้อย

“กัญชา กัญชง ถือเป็นพืชที่สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้ โดยคาดว่าปีนี้จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 2.8 หมื่นล้านบาท และ อีก 3 ปีข้างหน้า ภายในปี 2568 จะเพิ่มเป็น 4.2 หมื่นล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ15% ช่วยลดความเหลือล้ำให้กับเกษตรกรได้ เพราะจะมีรายได้สูงกว่าการปลูกข้าวมาก

โดยจะมีรายได้เฉลี่ย 8 แสน-1.2 ล้านบาท/ไร่/ปี แต่ด้านของผู้บริโภคยังมีความกังวลผลกระทบต่อเด็ก เยาวชนและสังคม ดังนั้น รัฐบาลกระทรวงพาณิชย์ สาธารณสุข เกษตรและสหกรณ์ จะต้องเร่งบูรณาให้ความรู้กับประชาชนและทุกภาคส่วน รวมทั้งออกมาตรการควบคุมไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสังคม “

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล :  khaosod.co.th